ขนาดของกระดาษ
 
ฝากกด Like เพจเพื่อเป็นกำลังใจให้กับทางทีมงานด้วยนะครับ
ขนาดของกระดาษ
ก่อนที่จะเลือกโรงพิมพ์ ท่านต้องดูก่อนว่างานพิมพ์ของท่านเหมาะสมกับระบบการพิมพ์อะไร ซึ่งประเภทของการพิมพ์ที่แบ่งตามลักษณะของการพิมพ์สามารถจัดได้เป็นดังนี้

 
เนื่องจากมีการใช้กระดาษกันอย่างกว้างขวาง จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรฐานของขนาดกระดาษขึ้นนอกเหนือจากการกำหนดมาตรฐานด้านอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อสะดวกต่อการใช้งานและการสื่อสารกัน ตลอดจนการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน
 
มาตรฐานของขนาดกระดาษ ISO 216
 
มาตรฐานขนาดกระดาษในระบบ ISO 216ได้ถูกกำหนดขึ้นโดยมีพื้นฐานแนวคิดมาจากมาตรฐานระบบ German DIN 476 จุดเด่นของมาตรฐานนี้คือเมื่อนำกระดาษที่มีขนาดตามที่กำหนดไว้มาพับครึ่ง ขนาดของกระดาษที่พับแล้วยังคงมีสัดส่วน (อัตราส่วนของด้านสูงกับด้านกว้าง) เดียวกับขนาดก่อนพับ และหากพับครึ่งไปอีก ขนาดใหม่ก็ยังคงมีสัดส่วนเดียวกันหมด ประโยชน์ทีได้คือเมื่อนำกระดาษไปตัดแบ่งไปใช้งานตามมาตรฐานนี้ จะไม่เกิดการเสียเศษหากมีงานที่ต้องการย่อส่วน เพื่อให้ได้ผลตามที่หลักการที่กำหนด ได้มีการคำนวณและพบว่าอัตราส่วนความสูงหารด้วยความกว้างจะเท่ากับ สแควร์รูทของสอง (1.4142) และยังพบว่าระยะความกว้าง, ความสูงของขนาดพับครึ่งแล้วจะลดลงเป็น 70.7% จากเดิมเสมอ
 





มาตรฐานรหัสชุด A

มาตรฐานขนาดกระดาษชุด A เป็นมาตรฐานในระบบ ISO ซึ่งเป็นระบบเมตริก จะกำหนดรหัส A0 ให้มีขนาดพื้นที่เท่ากับ 1 ตารางเมตร จากการคำนวณจะได้ขนาดของ A0 เท่ากับ 841 x 1189 มิลลิเมตร เมื่อทำการแบ่งครึ่งจากขนาด A0 ดังกล่าว ขนาดใหม่ที่ได้ตั้งเป็นรหัส A1 หากทำการแบ่งไปเรื่อย ๆ ก็จะได้รหัส A2, A3, A4 .... มาตรฐานชุดนี้ เป็นมาตรฐานที่สร้างความคุ้นเคยและถูกนำใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะขนาด A4 ซึ่งมีขนาด 210 x 297 มิลลิเมตร เป็นขนาดของกระดาษถ่ายเอกสารที่ใช้กันมาก กระดาษหัวจดหมาย หนังสือ นิตยสาร ฯลฯ และถ้านำกระดาษขนาด A4 ที่มีน้ำหนักเท่ากับ 80 กรัมต่อตารางเมตร กระดาษมาชั่งจะมีน้ำหนักอยู่ที่ 5 กรัมพอดี ทำให้ผู้ใช้สะดวกในการหาน้ำหนักของกองกระดาษดังกล่าวโดยใช้วิธีนับจำนวนแผ่น
 
 
2A 1189  x 1682 mm. 46.81  x  66.22 in.
A0  841  x 1189 mm. 33.11  x  46.81 in.
A1  594  x   841 mm. 23.39  x  33.11 in.
A2  420  x   594 mm. 16.54  x  23.39 in.
A3  297  x   420 mm.  11.69  x  16.54 in.
A4  210  x   297 mm.    8.27  x  11.69 in.
A5  148  x   210 mm.   5.83  x   8.27 in.
A6  105  x   148 mm.   4.13  x   5.83 in.
A7    74  x   105 mm.   2.91  x   4.13 in.
A8    52  x    74 mm.   2.05  x   2.91 in.
A9    37  x    52 mm.   1.46  x   2.05 in.
A10    26  x    37 mm.   1.02  x   1.46 in.
   
 

มาตรฐานรหัสชุด B

มาตรฐานรหัสชุด B นี้จะเป็นที่คุ้นเคยน้อยกว่ารหัสชุด A วิธีการกำหนดขนาดในรหัสชุดนี้เริ่มโดยให้รหัส B1 มีขนาดอยู่ระหว่าง A0 กับ A1 และให้มีระยะด้านสูงเท่ากับ 1 เมตร ทำให้ด้านกว้างเท่ากับ 0.707 เมตร (มาจากข้อกำหนด ความสูงหารความกว้างเท่ากับสแควร์รูทของสอง) ดังนั้น ขนาดของรหัสชุด B จะมีด้านใดด้านหนึ่ง เป็นครึ่งหนึ่ง หรือหนึ่งในสี่ หรือหนึ่งในแปดของ 1 เมตรไปเรื่อย ๆ งานที่นิยมใช้มาตรฐานรหัสชุดนี้คืองานโปสเตอร์ หนังสือ (ใช้ B5) พาสปอร์ต ซองเอกสาร
B0  1000  x 1414 mm. 39.37  x  55.67 in.
B1  707  x 1000 mm. 27.83  x  39.37 in.
B2  500  x   707 mm. 19.68  x  27.83 in.
B3  353  x   500 mm.  13.90  x  19.68 in.
B4  250  x   353 mm.    9.84  x  13.90 in.
B5  176  x   250 mm.   6.93  x    9.84 in.
B6  125  x   176 mm.   4.92  x    6.93 in.
B7    88  x   125 mm.   3.46  x    4.92 in.
B8    62  x     88 mm.   2.44  x    3.46 in.
B9    44  x     62 mm.   1.73  x    2.44 in.
B10    31  x     44 mm.   1.22  x    1.73 in.


มาตรฐานรหัสชุด C

รหัสชุดนี้มีไว้ใช้กำหนดขนาดของซองใส่เอกสาร ที่เลขเดียวกัน รหัสของ C จะใหญ่กว่าของ A แต่เล็กกว่าของ B ดังนั้น กระดาษจดหมาย A4 จะสามารถใส่ลงในซองขนาด C4 และซองขนาด C4 ก็จะใส่ลงในซอง B4 ได้พอเหมาะ
C0  917  x 1297 mm. 36.10  x  51.06 in.
C1  648  x   917 mm. 25.51  x  36.10 in.
C2  458  x   648 mm. 18.03  x  25.51 in.
C3  324  x   458 mm.  12.76  x  18.03 in.
C4  229  x   324 mm.    9.02  x  12.76 in.
C5  162  x   229 mm.   6.38  x    9.02 in.
C6  114  x   162 mm.   4.49  x    6.38 in.
C7    81  x   114 mm.   3.19  x    4.49 in.
C8    57  x     81 mm.   2.24  x    3.19 in.
C9    40  x     57 mm.   1.57  x    2.24 in.
C10    28  x     40 mm.   1.10  x    1.57 in.
 

มาตรฐานอเมริกาเหนือ

มาตรฐานที่กล่าวข้างต้นเป็นมาตรฐานในระบบ ISO สำหรับในทวีปอเมริกาเหนือ ยังมีการใช้กระดาษที่มีขนาดมาตรฐานต่างออกไป ซึ่งสามารถดูได้จากตารางข้างล่างนี้   
   
Letter  216  x  279 mm.  8.50  x  11.00 in.
Legal  216  x  356 mm.  8.50  x  14.00 in.
Ledger  432  x  279 mm. 17.00  x  11.00 in.
Tabloid  279  x  432 mm.  11.00  x  17.00 in.


นอกจากมาตรฐานขนาดของกระดาษที่กล่าวมาแล้ว ยังมีมาตรฐานที่จัดทำขึ้นในหลาย ๆ ประเทศ เช่น มาตรฐาน JIS ของประเทศญี่ปุ่น มาตรฐาน SIS ของประเทศสวีเดน อีกทั้งยังมีชื่อเรียกขนาดมาตรฐานตามการใช้งานต่าง ๆ เช่น ขนาด F4 (Foolscap) ซึ่งมีความกว้างเท่ากับ A4 แต่มีความสูงมากกว่า (210 x 330 mm.) ขนาดนามบัตร ขนาดโปสการ์ด เป็นต้น
 

ขนาดมาตรฐานของกระดาษแบบแผ่น
 
ผู้ผลิตและจำหน่ายกระดาษขนาดใหญ่สำหรับใช้ในโรงพิมพ์จะมีการบรรจุกระดาษเป็นห่อ ๆ ละ 500 แผ่นซึ่งเรียกว่า 1 รีม และมีการจัดขนาดของกระดาษเป็นมาตรฐานดังนี้
 
                   ขนาด         31 x 43    นิ้ว
                   ขนาด         35 x 43    นิ้ว
                   ขนาด         28 x 40    นิ้ว
                   ขนาด         25 x 36    นิ้ว
                   ขนาด         24 x 35    นิ้ว
 
    (นอกจากนี้ยังมีกระดาษบางประเภทซึ่งมีขนาดบรรจุสำหรับจำหน่ายต่างไปจากที่กล่าวมาแล้วนี้)
 
ในการพิมพ์สิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์มักใช้ขนาด 31 x 43 นิ้ว, 35 x 43 นิ้วและ 28 x 40 นิ้ว ส่วนการพิมพ์สิ่งพิมพ์ทั่วไปรวมถึงหนังสือต่างๆ มักใช้ขนาด 31 x 43 นิ้ว, 25 x 36 นิ้ว และ 24 x 35 นิ้ว (ขนาด 31 x 43 นิ้ว เป็นขนาดที่จัดสำหรับมาตรฐานรหัสชุด B ซึ่งใหญ่กว่าขนาด B1เล็กน้อยเพื่อเผื่อไว้สำหรับขบวนการพิมพ์ ส่วนขนาด 25 x 36 นิ้ว และ 24 x 35 นิ้ว เป็นขนาดที่จัดสำหรับมาตรฐานรหัสชุด A ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า A1 เล็กน้อย) อนึ่งกระดาษแต่ละชนิดแต่ละน้ำหนักอาจไม่มีขนาดจำหน่ายครบตามขนาดมาตรฐานที่ระบุไว้ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตและผู้จำหน่ายแต่ละราย
 

ขนาดพิมพ์
 
เครื่องพิมพ์ในระบบออฟเซ็ทแบบป้อนแผ่นมีขนาดต่าง ๆ กัน ซึ่งยังผลให้ต้องตัดเจียนกระดาษที่สั่งซื้อมาให้เหมาะเครื่องพิมพ์แต่ละเครื่องก่อนที่จะนำมาพิมพ์งาน ขนาดของเครื่องพิมพ์จะเรียกตามขนาดกระดาษที่ใหญ่ที่สุดที่สามารถเข้าเครื่องได้ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
 
               ขนาดตัดหนึ่ง            พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุด  35 x 49 นิ้ว
               ขนาดตัดสอง            พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุด  25 x 36 นิ้ว
               ขนาดตัดสองพิเศษ    พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุด  28 x 41 นิ้ว
               ขนาดตัดสาม            พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุด  21 x 31 นิ้ว
               ขนาดตัดสี่                พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุด  18 x 25.5 นิ้ว
               ขนาดตัดสี่พิเศษ        พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุด  21 x 28 นิ้ว
 
นอกจากนี้ยังมีเครื่องพิมพ์ขนาดเล็ก คือ ขนาดตัดห้า ขนาดตัดแปด ขนาดตัดสิบเอ็ด หรือเล็กกว่านั้น
 
เครื่องพิมพ์ในระบบออฟเซ็ทแบบป้อนม้วนจะวัดขนาดด้วยข้อจำกัดของเส้นรอบวงของโมลพิมพ์ โดยมีขนาดด้านเข้าเครื่องตายตัว ส่วนด้านขวางเครื่องสามารถปรับความกว้างได้ ส่วนใหญ่เครื่องพิมพ์ที่มีอยู่จะมีขนาดด้านเข้าเครื่องจะมี 21 นิ้ว กับ 24 นิ้ว
 
ในการออกแบบสิ่งพิมพ์ ให้คำนึงถึงชิ้นงานเทียบกับแผ่นพิมพ์เพื่อเป็นการประหยัดและไม่ให้เกิดการเสียเศษกระดาษ สำหรับการพิมพ์บนเครื่องพิมพ์แบบป้อนแผ่น ให้นำชิ้นงานมาวางลงในกระดาษขนาดพิมพ์ซึ่งถูกตัดแบ่งมาจากขนาดมาตรฐานต่าง ๆ (เช่น กระดาษขนาด 31 x 43 นิ้ว เข้าเครื่องตัดสี่ ต้องแบ่งสี่ส่วนได้แผ่นพิมพ์ขนาด 15.5 x 21.5 นิ้ว) ว่ามีการเสียเศษมากน้อยเพียงใด แต่ทั้งนี้ต้องไม่วางชิดจนเกินไป ให้มีการเว้นช่องว่างระหว่างชิ้นงานไม่ต่ำกว่า 5

 
โรงพิมพ์ บีพีเค พริ้นติ้ง มุ่งมั่นพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางด้านงานพิมพ์อย่างครบวงจร

 @bpkprinting

ขนาดกระดาษที่นิยมใช้เฉพาะในสหรัฐ
Legal size เป็นขนาดของกระดาษพิมพ์ขนาดหนึ่ง กว้าง 8.5 นิ้ว ยาว 14 นิ้ว
Letter size เป็นขนาดของกระดาษพิมพ์ขนาดหนึ่ง กว้าง 8.5 นิ้ว ยาว 11 นิ้ว

 

 


โรงพิมพ์ครบวงจรอันดับหนึ่ง
เราเป็นโรงงานผู้ผลิตโดยตรงทั้ง
ออฟเซ็ท ดิจิตอล อิงค์เจ็ท สติ๊กเกอร์ม้วน


ข้อมูลโรงพิมพ์

บริษัท บีพีเค พริ้นติ้ง จำกัด
เลขที่ 951 โครงการกรีนเวอร์ค ซอยสุขสวัสดิ์ 78
ถนน ประชาอุทิศ-วัดคู่สร้าง ทุ่งครุ

วันทำการ จันทร์ - เสาร์ เวลา 09.00 - 17.00 น.