เรื่องกระดาษ
 
เรื่องกระดาษ
 




 







ชนิดของกระดาษ

การจำแนกกระดาษสามารถจัดแบ่งได้หลายวิธี ในที่นี้จะจัดแบ่งชนิดของกระดาษที่ใช้ในวงการพิมพ์ ซึ่งสามารถรวบรวมได้ดังนี้


          กระดาษปรู๊ฟ (Newsprint) เป็นกระดาษที่มีส่วนผสมของเยื่อบดที่มีเส้นใยสั้น และมักนำเยื่อจากกระดาษใช้แล้วมาผสมด้วย กระดาษปรู๊ฟมีน้ำหนักเพียง 40 – 52 กรัม/ตารางเมตร มีสีอมเหลือง ราคาไม่แพงแต่ความแข็งแรงน้อย เหมาะสำหรับงานพิมพ์หนังสือพิมพ์ และเอกสารที่ไม่ต้องการคุณภาพมาก

 
          กระดาษแบงค์ (Bank Paper) เป็นกระดาษบางไม่เคลือบผิว น้ำหนักไม่เกิน 50 กรัม/ตารางเมตร มีสีให้เลือกหลายสี ใช้สำหรับงานพิมพ์แบบฟอร์มต่าง ๆ ที่มีสำเนาหลายชั้น

 
          กระดาษปอนด์ (Bond Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมีที่ผ่านการฟอกและอาจมีส่วนผสมของเยื่อที่มาจากเศษผ้า มีสีขาว ผิวไม่เรียบ น้ำหนักอยู่ระหว่าง 60 – 100 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องความสวยงามปานกลาง พิมพ์สีเดียวหรือหลายสีก็ได้

 
         กระดาษอาร์ต (Art Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมี (เยื่อที่ผลิตโดยใช้สารเคมี) และเคลือบผิวให้เรียบด้านเดียวหรือทั้งสองด้าน การเคลือบอาจจะเคลือบมันเงาหรือแบบด้านก็ได้ มีสีขาว น้ำหนักอยู่ระหว่าง 80 – 160 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการความสวยงาม งานพิมพ์สอดสี เช่นแคตตาล็อก โบร์ชัวร์

 
         กระดาษฟอกขาว (Woodfree Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมี (เยื่อที่ผลิตโดยใช้สารเคมี) และฟอกให้ขาว เป็นกระดาษที่มีคุณภาพและมีความหนาแน่นสูง การดูดซึมน้อย ใช้สำหรับงานพิมพ์หนังสือ กระดาษพิมพ์เขียน

 
         กระดาษเหนียว (Kraft Paper)  เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อซัลเฟต (เยื่อใยยาวที่ผลิตโดยใช้สารซัลเฟต) จึงมีความเหนียวเป็นพิเศษ มีสีเป็นสีน้ำตาล น้ำหนักอยู่ระหว่าง 80 – 180 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับทำสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ กระดาษห่อของ ถุงกระดาษ

         กระดาษการ์ด (Card Board) เป็นกระดาษที่มีความหนาและแข็งแรงประกอบด้วยชั้นของกระดาษหลายชั้น ชั้นนอกสองด้านมักเป็นสีขาว แต่ก็มีการ์ดสีต่าง ๆ ให้เลือกใช้ บางชนิดมีผิวเคลือบมันเรียบ ซึ่งเรียก กระดาษอาร์ตการ์ด น้ำหนักกระดาษการ์ดอยู่ระหว่าง 110 – 400 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับทำปกหนังสือ บรรจุภัณฑ์ที่มีราคา เช่นกล่องเครื่องสำอาง

 
         กระดาษกล่อง (Box Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อบด และมักนำเยื่อจากกระดาษใช้แล้วมาผสม มีสีคล้ำไปทางเทาหรือน้ำตาล ผิวด้านหนึ่งมักจะประกบด้วยชั้นของกระดาษขาวซึ่งอาจมีผิวเคลือบมันหรือไม่ก็ได้เพื่อความสวยงามและพิมพ์ภาพลงไปได้ หากเป็นกระดาษไม่เคลือบ จะเรียก กระดาษกล่องขาว หากเป็นกระดาษเคลือบผิวมัน จะเรียก กระดาษกล่องแป้ง น้ำหนักกระดาษกล่องอยู่ระหว่าง 180 – 600 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับทำสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ เช่น กล่อง ป้ายแข็ง ฯลฯ

 
         กระดาษแข็ง (Hard Board) เป็นกระดาษหลายชั้นแข็งหนาทำจากเยื่อไม้บดและเยื่อกระดาษเก่า มีผิวขรุขระสีคล้ำ มีคำเรียกกระดาษชนิดนี้อีกว่า กระดาษจั่วปัง น้ำหนักมีตั้งแต่ 430 กรัม/ตารางเมตรขึ้นไป ใช้ทำใส้ในของปกหนังสือ ฐานปฏิทินตั้งโต๊ะ บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ

 
         กระดาษแฟนซี (Fancy Paper) เป็นคำเรียกโดยรวมสำหรับกระดาษที่มีรูปร่างลักษณะของเนื้อและผิวกระดาษที่ต่างจากกระดาษใช้งานทั่วไป บางชนิดมีการผสมเยื่อที่ต่างออกไป บางชนิดมีผิวเป็นลายตามแบบบนลูกกลิ้งหรือตะแกรงที่กดทับในขั้นตอนการผลิต มีสีสันให้เลือกหลากหลาย มีทั้งกระดาษบางและหนา ประโยชน์สำหรับกระดาษชนิดนี้สามารถนำไปใช้แทนกระดาษที่ใช้อยู่ทั่วไป ตั้งแต่นามบัตร หัวจดหมาย ไปจนถึงกล่องบรรจุภัณฑ์

 
         กระดาษอื่น ๆ นอกจากกระดาษชนิดต่าง ๆ ที่เอ่ยมาข้างต้นแล้ว ยังมีกระดาษชนิดอื่น ๆ อีก เช่น กระดาษถนอมสายตา กระดาษกันปลอม (Security Paper) กระดาษเอ็นซีอาร์ (Carbonless Paper) กระดาษสังเคราะห์ กระดาษสติ๊กเกอร์ ฯลฯ

 
ลูกค้าโดยมากจะใช้กระดาษมาตรฐาน ที่เหมาะกับงานพิมพ์ในประเทศไทย เช่นกระดาษ อาร์ตมัน อาร์ตด้าน อาร์ตการ์ด กระดาษถนอมสายตา กล่องแป้งหลังเทา กล่องแป้งหลังขาว เพราะหาง่าย และราคาถูก แต่ก็มีลูกค้าบางส่วนที่เห็นงานพิมพ์จากเมืองนอกและต้องการจะใช้กระดาษชนิดเหล่านั้น โดยทางโรงพิมพ์จะเรียกกระดาษเหล่านี้ว่า “กระดาษพิเศษ” แต่เพราะกระดาษบนโลกนี้มีเกินล้านชนิด บางชนิดหายากแตกต่างกันไป บางชนิดต้องนำเข้ารอหลายเดือน เพราะฉะนั้นการที่ลูกค้าบอกแค่ประเภทกระดาษคร่าวๆ ทางโรงพิมพ์ไม่สามารถหากระดาษได้ตรงสเป็คที่ดีที่สุด
ถ้าลูกค้าต้องการกระดาษพิเศษเหล่านี้ ต้องนำตัวอย่างมาที่โรงพิมพ์ และบางชนิดอาจต้องรอเป็นเดือน ซึ่งกระดาษไม่สามารถพิมพ์ติดได้ทุกชนิด บางชนิด ออกแบบมาเพื่ออุตสาหกรรม และการใช้งานอย่างอื่น




ชนิดและรายละเอียดของกระดาษที่มีจำหน่ายเป็นแผ่น

    เนื่องจากแหล่งผลิตกระดาษมาจากหลาย ๆ แหล่งและมีความแตกต่างกันในกรรมวิธีการผลิตและการกำหนดรายละเอียด ข้อมูลตามตารางข้างล่างจึงเป็นแนวทางเพื่อให้เห็นภาพรวม ในทางปฏิบัติอาจมีรายละเอียดที่ต่างกันออกไป                                                                                                      

 
  ขนาด (นิ้ว) น้ำหนัก (กรัม/ตารางเมตร)           เหมาะสำหรับประเภทงาน
กระดาษปรู๊ฟ 31x43 48.8, 50, 55 หนังสือพิมพ์ หนังสือ 
แผ่นพับ
กระดาษแบ้งค์ 31x43  25x35.5 45, 55, 70, 80, 100 แบบฟอร์มต่าง ๆ
กระดาษปอนด์ 31x43  24x35 55, 60, 70, 80, 100, 120 แผ่นพับ หนังสือ แบบฟอร์ม
กระดาษถนอมสายตา 31x43  24x35 65, 70, 75 หนังสือ แผ่นพับ
กระดาษอาร์ตมัน/ด้าน 31x43  24x35 25x36 85, 90, 100, 105, 115, 120, 128, 130, 150, 157, 160 แผ่นพับ โบร์ชัวร์ หนังสือ
กระดาษอาร์ตมันหน้าเดียว 31x43 75, 80, 85, 90 ฉลากบรรจุภัณฑ์
กระดาษคราฟท์ขาว 31x43  35x47 100, 110, 120 ถุงกระดาษ
กระดาษคราฟท์น้ำตาล 31x43  35x47 80, 110, 125 ถุงกระดาษ ซองเอกสาร
กระดาษการ์ดสี 31x43  25x35.5 34x40.5 110, 120, 150, 180, 210, 240, 270, 300, 350 แฟ้ม ปกหนังสือ การ์ด 
นามบัตร
กระดาษอาร์ตการ์ดหน้าเดียว 31x43 170, 180,190, 200, 210, 220, 230, 240, 250, 260, 270, 275, 280, 300, 325, 330, 350, 380, 390 กล่องบรรจุภัณฑ์ ป้าย
กระดาษอาร์ตการ์ดสองหน้า 31x43  25x36 190, 210, 230, 260, 300, 310, 360 ปกหนังสือ กล่อง ป้าย 
นามบัตร
กระดาษกล่องขาว (ไม่เคลือบผิว) 31x43  35x43 180, 230, 250, 270, 290, 310, 350, 400, 450, 500 กล่องบรรจุภัณฑ์ ป้าย
กระดาษกล่องแป้ง  (เคลือบผิวมัน) 31x43  35x43 250, 270, 310, 350, 400, 450, 500, 550, 600 กล่องบรรจุภัณฑ์ ป้าย
กระดาษกล่องแป้งหลังขาว 31x43  35x43 220, 250, 270, 310, 350, 400, 450, 500, 550, 600 กล่องบรรจุภัณฑ์ ป้าย
กระดาษแข็ง 31x27 430, 535, 642, 752, 845, 1110, 1324, 1544, 1730, 2000 ใส้ในปกแข็ง ปฏิทินตั้งโต๊ะบรรจุภัณฑ์
กระดาษแฟนซีต่าง ๆ 25x37  31x43 100, 120, 160, 200, 240, 300, 360 นามบัตร หัวจดหมาย ปกและเนื้อในหนังสือ


ปัญหาสิ่งพิมพ์ที่มักเกิดขึ้นจากกระดาษ

งานเก่ากระดาษแกรมเดียวกัน แต่ทำไมแตกต่างกัน
กระดาษเป็นวัตถุดิบที่หมดบ่อยมาก บางชนิดหมดเป็นเดือน สองเดือน สามเดือน บางชนิดเลิกผลิตแล้ว เมื่อกระดาษหมด โรงพิมพ์จำเป็นต้องสั่งกระดาษอีกยี่ห้อหนึ่งที่แกรมเดียวกัน ใกล้เคียงกันมาใช้เพื่อมาทดแทน และยังมีกรณีอื่นๆอีก เช่น งานพิมพ์เก่าๆกระดาษก็จะเปลี่ยนสี งานที่เคลือบแล้วกระดาษก็จะเปลี่ยนสี



 

ความรู้ทางงานพิมพ์


โรงพิมพ์ครบวงจรอันดับหนึ่ง
เราเป็นโรงงานผู้ผลิตโดยตรงทั้ง
ออฟเซ็ท ดิจิตอล อิงค์เจ็ท สติ๊กเกอร์ม้วน


ข้อมูลโรงพิมพ์

บริษัท บีพีเค พริ้นติ้ง จำกัด
เลขที่ 951 โครงการกรีนเวอร์ค ซอยสุขสวัสดิ์ 78
ถนน ประชาอุทิศ-วัดคู่สร้าง ทุ่งครุ

วันทำการ จันทร์ - เสาร์ เวลา 09.00 - 17.00 น.